การบริหารจัดการโลจิสติกส์

การพัฒนาโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพให้กับภาคอุตสาหกรรม จึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสมรรถนะในการแข่งขัน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถปารับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าด้วยต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ซึ่งกิจกรรมหลักของโลจิสติกส์สามารถจำแนกได้ดังรูปที่ 1 โดยสามารถจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้ 3 ส่วน คือ

การบริหารจัดการโลจิสติกส์

  1. กิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) ประกอบด้วย การจัดหาและจัดการวัตถุดิบหรือการจัดซื้อการขนย้าย การบริหารคลังสินค้าหรือลานเทกอง การบริหารการเงิน-ข้อมูล-คำสั่งซื้อ
  2. กิจกรรมด้านกระบวนการผลิต (Operation) ได้แก่ การวางแผนการผลิต
  3. กิจกรรมโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) ประกอบด้วย การบรรจุหีบห่อ การบริหารสินค้าสำเร็จรูป การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารคลังสินค้า การขนส่งและขนถ่าย การกระจายสินค้า

 

จากดังที่กล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในการประกอบการมีมากมาย    ซึ่งหากดำเนินการได้ด้วยความ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้การดำเนินการในขั้นตอนถัดไปสามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและส่งผลให้เกิดการเพิ่มศักยภาพของการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้การปรับลด                    การดำเนินการหรือกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่า จะส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลดลง และสามารถชดเชยหรือบรรเทาต้นทุนของการประกอบการในส่วนอื่น ทำให้การประกอบธุรกิจมีศักยภาพและสมรรถนะในการแข่งขันเพิ่มขึ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน

  • 1. ตรวจประเมินเบื้องต้นสถานประกอบการ

  • 2. จัดทำเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงาน

  • 3. ฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

  • 4. ให้คำปรึกษาในการจัดทำระบบเอกสารคุณภาพ

  • 5. ดำเนินการตวจประเมินคุณภาพภายในโดยทีมขององค์กร

  • 6. การตรวจประเมินเบื้องต้นโดยที่ปรึกษา เพื่อเตรียมความพร้อม

  • 7. การตรวจประเมินเพื่อขอใบรับรองจากสถาบันรับรองภายนอก

  • 8. ที่ปรึกษาดำเนินการให้คำปรึกษาและแก้ไข CAR ให้จนกว่าจะได้รับใบรับรอง